Ticker

10/recent/ticker-posts

การสงครามสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนส่งผลกระทบอย่างไรต่อเกษตรกรไทย

การสงครามสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนส่งผลกระทบอย่างไรต่อเกษตรกรไทย


ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสองประเทศนี้ก่อน

ยูเครนเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ยุโรปตะวันออกมีเนื่อที่เป็นอันดับสองในยุโรปรองมาจากประเทศรัสเซีย

มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในยุโรปประมาณ 47 ล้านคน (2554) ชาวยูเครน 77.8% ชาวรัสเซีย 17.3% 

อื่นๆ 4.9 % (2544)ประเทศยูเครนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 58% พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มอุดุมสมบูรณ์มีแม่น้ำสำคัญ

ไหลผ่านได้แก่ แม่น้ำดนีเปอร์ แม่น้ำดนีสเตอร์ และแม่น้ำดานูบ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลดำในอดีตเคยอยู่ใน

สหภาพโซเวียต(ประเทศรัสเซียในปัจจุบัน)

จะว่าไปแล้วยูเครนเป็นประเทศที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำประเทศหนึ่งเพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกโดยพืช

ผลทางการเกษตรที่ส่งออกหลักของประเทศยูเครน ได้แก่ เมล็ดดอกทานตะวัน ที่เป็นอันดับ 1 ในการผลิตของโลก,

 ข้าวโพด, ข้าวบาร์เลย์, น้ำมันคาโนลาที่ทำมาจากผักกาดก้านขาว, ข้าวสาลี, ถั่วเหลือง และธัญพืชอื่นๆรัสเซีย

ยังเป็นผู้ผลิตสารอาหารสำหรับพืชรายใหญ่ เช่น แร่โพแทช (potash) และฟอสเฟต (phosphate)

ปุ๋ยฟอสฟอรัสหรือปุ๋ยตัวกลางซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในปุ๋ยที่ช่วยให้พืชผลเติบโต

ในส่วนของรัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกปุ๋ยเคมีเช่นกัน

รัสเซีย หรือ สหพันธรัฐรัสเซียเป็นประเทศในยูเรเซียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก พื้นที่กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร 

ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 9 ของโลก

โดยมีประชากร 143 ล้านคน

รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลี

รวมกันราว 29% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 19% ของ

ตลาดโลกเมื่อเกิดสงครามทำให้ระดับราคาข้าวสาลีพุ่งสูงขึ้นทันที เป็น 12.75 บาท/กก. จากราคา 8.91 บาท/กก.

ในปี 2564

ขณะที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย พุ่งสูงกว่าตลาดโลกไปอยู่ที่ 12 บาท/กก. และมีแนวโน้มขยับต่อเนื่อง

ไปถึง 15 บาท/กก.

ผลกระทบที่เกษตรกรไทยจะได้รับจากสงครามรัสเซียยูเครนคือราคาปุ๋ยเคมีที่สูงขึ้นเนื่องจากราคาของแม่ปุ๋ยที่

สูงขึ้นทำให้ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆปรับตัวสูงขึ้นทำให้เพิ่มต้นทุนทำการเพาะปลูกสูงขึ้นและผลผลิตอาจลดลงเนื่องจาก

การใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรอาจมีการใช้ลดน้อยลงจากราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอีกทั้งยาปราบศัตรูพืชและ

ยากำจัดวัชพืชก็สูงขึ้นอีกทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้นทุนค่าน้ำมันที่นำไปใช้กับเครื่องจักรการเกษตรที่

เกษตรกรต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกทั้งราคาผลิตผลทางการเกษตรจะปรับขึ้นสอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้นหรือไม่อ้นนี้

ต้องรอดูอีกที่ 

ในส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ก็อาจประสบกับปัญหาราคาอาหารเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากราคา

ข้าวสาลีที่พุ่งสูงขี้นรวมไปถึงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก็ปรับตัวไปตามกันปัญหาอาจจะไม่จบที่อาหารสัตว์ราคาแพงเพียง

อย่างเดียวอาจเกิดการขัดแคลนอาหารเลี้ยงสัตว์เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าส่วนประกอบของอาหารสัตว์จากสอง

ประเทศนี้ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บางรายอาจต้องพักเล้าหยุดเลี้ยงสัตว์ชั่วคราวส่งผลต่อรายได้ของเกษตรอีก

อันนี้ก็อาจส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ของเกษตรกรด้วย ใครจะรู้ได้ว่าการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนจะส่งผล

กระทบต่อเกษตรกรไทยในวงกว้างเช่นนี้เราเพียงหวังสงความจะจบลงโดยเร็วเพราะสงความมีแต่ความสูญเสีย


                                                  ปุ๋ยละลายช้าออสโมโค้ท

                                                ใช้ได้กับกล้วยไม้ พืชกระถาง 

                                               แคคตัส ไม้ด่าง สนใจคลิกที่นี่👆


Post a Comment

0 Comments