Ticker

10/recent/ticker-posts

ธาตุอาหารพืช 17 ธาตุที่มีความจำเป็นต่อพืชที่เกษตรกรต้องรู้!

ธาตุอาหารพืช (Plant Nutrients) คือ ธาตุเคมี (Chemical Elements) ในธรรมชาติที่มีความจำเป็น

ในการเจริญเติบโตของพืช ธาตุอาหารของพืชมีประกอบด้วยกัน 17 ธาตุในอดีตมีธาตุอาหารพืช 16

 ธาตุแต่ปัจจุบันมีอยู่ 17 ธาตุที่พืชต้องการถ้าขาดธาตุใดธาตุหนึ่งแล้วพืชจะเจริญเติบโตไม่ครบรอบ

วงจรของพืชเช่นเจริญเติบโตช้าไม่ออกดอกธาตุอาหารพืชทั้ง 17 ชนิดนี้มีอยู่เพียง 3 ธาตุที่พืชสามารถ

ผลิตเองได้มีธาตุดังต่อไปนี้ คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H) เท่านั้นที่พืชดึงมาใช้จาก

น้ำและอากาศ อีก 14 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) 

แมกนีเซียม(Mg) กำมะถัน(S) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B)โมลิบดินัม (Mo) ทองแดง (Cu) 

สังกะสี (Zn) คลอรีน (Cl) และนิกเกิล (Ni)ธาตุอาหารเหล่านี้ที่พืชส่วนใหญ่ดูดซับมาจากดิน ซึ่งสิ่งที่

เกิดขึ้นจากการสะสมของธรรมชาติ 

ธาตุอาหารพืช


 

ธาตุอาหารพืชสามารถแยกประเภทออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ตามปริมาณความต้องการของพืช 

คือ

มหาธาตุ (Macronutrients) คือ ธาตุอาหารทั้ง 9 ที่พืชต้องการในปริมาณมาก เพื่อนำมาใช้ในการเจริญ

เติบโต โดยมหาธาตุ

สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ดังนี้

  • ธาตุอาหารหลักจากน้ำและอากาศ ได้แก่ คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H)

    (พืชสามารถดึง มาใช้ได้เอง)

  • ธาตุอาหารหลักจากดิน ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งเป็น

    ธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในปริมาณมาก แต่ในดินธรรมชาติ ธาตุทั้ง 3 มักมีปริมาณไม่เพียงพอ

    ต่อความต้องการของพืช การเพาะปลูกมายาวนานทำให้ดินขาดธาตุอาหารหลัก 3 ชนิดทำให้มีการ

    ผลิตปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร 3 ชนิดเพื่อการค้าให้เกษตรกรเนื่องจากผู้โดยสารตัวนี้เร่งการเจริญเติบโต

    ของพืช ที่เราเห็นอยู่ตามท้องตลาดคือปุ๋ย N P K

  • ธาตุอาหารรองจากดิน ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) ซึ่งเป็นธาตุ

    อาหารที่พืชต้องการน้อยกว่าธาตุอาหารหลักเราจึงเรียกว่าธาตุอาหารรองโดยทั่วไปธาตุอาหารรอง

    มีอยู่ในดินอยู่แล้วแต่เนื่องจากการเพาะปลูกกันมายาวนานทำให้ปริมาณธาตุอาหารลดลงจึงต้อง

    มีการใส่เพิ่ม 

จุลธาตุ (Micronutrients) คือ ธาตุอาหารเสริม หรือ จุลธาตุเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณที่ไม่

มากเท่ากับธาตุอาหารหลักเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการนำมาใช้ในปริมาณไม่มากแต่จำเป็นขาดไม่ได้ โดย

ในดินมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 8 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo)

ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) คลอรีน (Cl) และนิกเกิล (Ni)ธาตุอาหารที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้ ต่างจำเป็น

การดำรงชีวิตของพืชการผลิดอกออกผล และการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรงของพืชถ้าขาดธาตุใด

แล้วพืชเจริญเติบโตไม่ครบรอบวงจรของพืชเช่นพืชแคระแกร็น ไม่ออกดอก ไม่ติดผล 

หน้าที่ของ ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชถ้าขาดพืชจะแสดงลักษณะที่บ่งบอกว่าพืชขาดธาตุ

อาหารเช่นจะแสดงจากสีของใบ ลักษณะของใบและจะแสดงลักษณะอื่นๆตามชนิดของธาตุอาหารที่พืช

ขาด

กลุ่มธาตุอาหารหลัก

ไนโตรเจน (N) เป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเติบโตของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเพื่อการสร้าง

กรดอะมิโน(Amino Acids)กรดนิวคลีอิก(Nucleic Acids)โปรตีนรวมทั้งฮอร์โมนประเภทต่างๆรวมถึง

การมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งไนโตรเจนยอดเยี่ยมในส่วน

ประกอบหลักของคลอโรฟิลล์(Chlorophyll)ที่ทำให้พืชมีสีเขียว

ถ้าพืชขาดไนโตรเจน:สีของใบกลายเป็นสีเหลืองขนาดของใบเล็กลงลำต้นแคระแกร็น

ฟอสฟอรัส (P) หมายถึงธาตุอาหารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของรากพืชเป็นธาตุที่มีผลต่อการควบ

คุมการออกดอก ผลิดอกออกผล และกระบวนการสร้างเม็ดพืช ทั้งยังสำคัญกับกระบวนการสังเคราะห์

แสง การกักเก็บ รวมทั้งถ่ายโอนพลังงานรวมทั้งขั้นตอนการหายใจของพืช

ถ้าพืชขาดฟอสฟอรัสจะเป็นอย่างไร:การเจริญเติบโตของรากไม่สมบูรณ์ ใบแก่เดิมมีสีเขียวจะ

เปลี่ยนเป็นสีม่วงและกลายเป็นสีน้ำตาลแล้วแล้วหลุดร่วงไป ลำต้นมีลักษณะแคระแกร็น และออกผล

โพแทสเซียม (K) เป็นธาตุอาหารที่สร้างกระบวนการสังเคราะห์แสงสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และ

โปรตีน สนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งน้ำตาล และน้ำมันอีกทั้งยังส่งเสริมประสิทธิ

ภาพการใช้น้ำของพืชการให้ผลผลิต ทำให้พืชมีความต้านทานโรคและแมลง

ถ้าพืชขาดธาตุโพแทสเซียม:ลักษณะลำต้นจะไม่แข็งแรงดอกและผลเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ผล

ผลิตของพืชมีคุณภาพต่ำโดยเฉพาะรสชาติจะไม่ดี ผลมีสีสันไม่สวย 

กลุ่มธาตุอาหารรอง

 แคลเซียม (Ca) คือ ธาตุอาหารที่เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งมีส่วนช่วย

สำหรับการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร ความงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตของใบและราก

 ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม : ทำให้การเจริญของใบใหม่ที่ไม่สมบูรณ์ ตายอดไม่เจริญ อาจทำให้

เกิดจุดดำบริเวณเส้นใบ รากพืชสั้น และพืชมีผลผลิตคุณภาพต่ำ

 

แมกนีเซียม (Mg) คือ ธาตุที่เป็นส่วนสำคัญของการสร้างคลอโรฟิลล์(ทำให้ใบพืชมีสีเขียว) ช่วย

ส่งเสริมการสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ปรับสภาพกรดด่างในเซลล์พืชให้

เหมาะสมและช่วยส่งเสริมในการงอกของเมล็ดให้ดีขึ้น นอกจากนี้ แมกนีเซียมยังทำให้พืชมีการ

ดูดซึมและพืชสามารถนำฟอสฟอรัสมาใช้ประโยชน์อีกด้วย 

ถ้าพืชขาดธาตุแมกนีเซียม : การผลิของใบไม่สมบูรณ์ ใบแก่จะเปลี่ยนสีและร่วงโรยรวดเร็วกว่าพืชที่ไม่ขาด

ธาตุแมกนีเซียม

กำมะถัน (S) คือ ธาตุที่ส่วนประกอบสำคัญของกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามินในพืช มีส่วนสำคัญต่อการสร้าง

คลอโรฟิลล์และการผลิตเมล็ดของพืช นอกจากนี้ กำมะถันยังเป็นส่วนประกอบของสารระเหยที่ส่งเสริมการ

สร้างกลิ่นเฉพาะตัวในพืชบางชนิดอีกด้วย

ถ้าพืชขาดธาตุกำมะถัน : ทำให้การเจริญของใบและลำต้นไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ลำต้นอ่อนแอ

กลุ่มธาตุอาหารเสริม 

โบรอน (B) คือ เป็นธาตุที่ทำให้พืชสามารถดูดซึมแคลเซียมและไนโตรเจนได้ดียิ่งขึ้น จำเป็นกับส่วนที่กำลัง

เจริญเติบโต เช่น การแตกใบอ่อน การเจริญเติบโตของยอด ราก และผล ช่วยในการออกดอกและมีความ

จำเป็นต่อการผสมเกสรของพืชให้ดีขึ้น อีกทั้ง ยังมีบทบาทสำคัญๆในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล 

การเคลื่อนย้ายฮอร์โมน และการแบ่งเซลล์ของพืชเป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์

 ถ้าพืชขาดธาตุโบรอน : มีการเจริญของตายอด การแตกกิ่งและการออกผลไม่สมบูรณ์ ลำต้นแคระแกร็น 

ลักษณะของใบจะอ่อนไม่แข็งแรงและบางลง

ทองแดง (Cu) คือ เป็นธาตุที่มีส่วนช่วยในขั้นตอนการสร้างคลอโรฟิลล์ในพืช เป็นหนึ่งในตัวเร่งปฏิกิริยา

หรือตัวกระตุ้นในกระบวนการต่าง ๆ ของพืช เช่น กระบวนการหายใจ การทำงานของเอนไซม์

 การสร้างอาหารและกระบวน การสืบพันธุ์ ซึ่งส่งผลต่อการผลิดอกออกผลของพืช

ถ้าพืชขาดธาตุทองแดง : มีการเจริญของตายอดและลำต้นไม่สมบูรณ์ มีการเปลี่ยนสีของใบอ่อนเป็น

สีเหลือง เส้นใบเปลี่ยนสีเป็นสีชมพูขาวจาง ลักษณะใบเหี่ยวเฉาและร่วงโรยได้ง่าย

เหล็ก (Fe) คือ ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีน ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสงและการ

ผลิตอาหารของพืช มีความสำคัญในการกระตุ้นกระบวนการหายใจ และการเจริญเติบโตให้เป็นไปอย่าง

สมบูรณ์

ถ้าพืชขาดธาตุเหล็ก : ใบอ่อนมีสีขาวหรือเหลืองซีด ในขณะที่ใบที่เจริญแล้วไม่แสดงอาการเจ็บป่วย

แมงกานีส (Mn) คือ ธาตุอาหารที่มีส่วนส่งเสริมในกระบวนการสังเคราะห์แสงและการทำงานของเอน

ไซม์ มีผลต่อการเจริญของใบ ดอกและการออกผล นอกจากนี้ แมงกานีสยังมีบทบาทในการควบคุม

กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำธาตุเหล็กและไนโตรเจนมาใช้ประโยชน์อีกด้วย

 ถ้าพืชขาดธาตุแมงการนีส: ใบอ่อนของพืชจะมีสีเหลืองและสีอ่อนจาง ในขณะที่เส้นใบยังคงมี

เขียวสด ซึ่งส่งผลต่อการเหี่ยวเฉาและร่วงโรยของใบพืชในเวลาต่อมา

โมลิบดินัม (Mo) คือ ธาตุอาหารที่มีส่วนช่วยแบคทีเรียและจุลินทรีย์ในดินสำหรับการตรึงไนโตรเจน

จากอากาศ ซึ่งส่งผลต่อการสังเคราะห์โปรตีนและการทำงานของไนโตรเจนในพืช อีกทั้ง ยังมีบทบาท

ในการสร้างคลอโรฟิลล์ และ การเปลี่ยนรูปของสารประกอบฟอสฟอรัสอีกด้วย 

ถ้าพืชขาดธาตุโมลิบดินั้ม  : ใบของพืชจะมีลักษณะโค้งงอหรือม้วนลง มีสีเหลืองส้มและสีอ่อนจาง

 มีจุดประขึ้นตามแผ่นใบ มีดอกและผลแคระแกร็น จากการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์

สรุป 

เมือมีการเพาะปลูกพืชลงบนดินทำให้ปริมาณของธาตุอาหารต่าง ๆ ในดินมีการปลี่ยนแปลงไปตาม

การดูดซึมและการนำไปใช้ประโยชน์ของพืช ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้ บางส่วนถูกนำไปใช้เพื่อการเจริญ

เติบโต บางส่วนถูกเก็บสะสมไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ไม่ว่าจะเป็นใบ ลำต้น ผล หรือ ดอก 

ทำให้ธาตุเหล่าจากเดิมที่มีอยู่ในดินอยู่แล้ว เมื่อมีการทำการเพาะปลูกหลายๆปีก็ทำให้ธาตุเหล่านี้

หมดไปหรือลดลงและการสูญเสียธาตุอาหารเหล่านี้จาก การชะล้างของน้ำฝนการเพาะปลูกใน

แต่ละรอบการเพาะปลูกจึงต้องมีการเติมธาตุอาหารที่จำเป็นเหล่าลงไปด้วยที่ครั้งเพื่อให้เพียงพอ

กับความต้องการของพืช

ขอยกตัวอย่างง่ายๆ คือ การใส่ปุ๋ยเคมีที่มี N P K ที่เกษตรกรใส่ในการเพาะปลูกพืชต่างๆเป็น

การเติมธาตุอาหารหลักของพืชที่ต้องการในปริมาณที่มากแต่พืชก็ต้องหารธาตุอาหารรองและ

ธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุเพื่อการเจริญเติบโตให้ครบวงจรของพืช(แต่ธาตุอาหารรองและธาตุ

อาหารเสริมพืชต้องการในปริมาณที่น้อยแต่ก็ขาดไม่ได้จึงต้องมีการเติมลงไปในดินในปริมาณ

ที่พืชต้องการ)

ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุเราสามารถเติมด้วยการฉีดพ่นทางใบให้กับพืชได้เช่น 

แคลเซียมโบรอน สังกะสี แมกนีเซียม

เราสามารถสั่งซื้อมาใช้จากช่องทางออนไลน์ได้

 

ธาตุอาหารรองแมกนีเซียม+ธาตอาหารเสริม เหล็ก ทองแดง โบรอน แมงการนิส 

สังกะสี โมลิบดินัม สนใจคลิกดูรายละเอียด 👆👆👆

 

 


 

 



 แคลเซียมโบรอนสูตร 1 สูตรพื้นฐานสูตรนี้นำมาผสมน้ำเองประหยัดกว่าซืื้อเป็นขวดที่ผสมแล้ว เพิ่มขั้วเหนียว ช่วยลดการหลุดร่วงของผล ช่วยพืชเจริญเติบโต ใบเขียวเข้ม สังเคราะห์แสงได้ดี ช่วยขยายผล สนใจคลิกดูรายละเอียด 👆👆👆

Post a Comment

0 Comments